ยินดีตอนรับเข้าสู่blogเทคนิคการสร้างเครือข่ายในการจัดเรียนรู้

หน่วยที่1


เรื่อง   ขอบข่ายของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ตามเส้นทางพัฒนาการสังคมมนุษย์อันยาวนาน    จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีสิ่งเกี่ยวข้องที่มีบทบาท
พึ่งพาอาศัยกันและกันตลอดเวลามิได้ขาดคือ(1)วิทยาการ(2)เทคโนโลยีและ(3)การศึกษา  วิทยาการนั้นเป็นผลพวงของการดิ้นรนเพื่อรักษาชีวิตให้รอด  หมายถึงรอดทางกายภาพและอดทางจิตภาพ เมื่อรอดแล้วก็ทำให้สามารถสร้างสรรค์และสั่งสมระบบความคิด ระบบความรู้ และระบบค่านิยม  พอกพูนขึ้นในแต่ละสังคมสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือระบบความรู้ที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นความรู้ตามข้อเท็จจริงตามธรรมชาติวิธีการใหม่ๆ ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมมากขึ้นเรื่อยๆผลิตผลที่ได้นี้ก็เรียกว่าเทคโนโลยี หรือ ระบบความรู้ความคิดที่ทำให้ได้เทคโนโลยีก็เรียกว่าวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยีเหล่านี้จะต้องมีการถ่ายทอดจากบุคคลสู่บุคคลจากรุ่นสู่รุ่น  สังคมมนุษย์จึงสามารถสืบทอดและรักษาเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เป็นมรดกจจากบุคคลสู่บุคคลจากรุ่นสู่รุ่น สังคมมนษย์จึงจะสามารถสืบทอดและรักษาซึ่งเป็นกระบวนการถ่ายทอดนี้เรียกว่า การศึกษาได้กลายมาเป็นกระบวนการถ่ายทอดสร้างสรรค์และสั่งสมวัฒนธรรม (วิถีชีวิตเพื่อความอยู่รอดทั้งทางกายและจิต)เมื่อการศึกษาได้ผลก็จะทำให้ผุ้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยมีเครื่องมือในการศึกษาวิจัยดีขึ้น เพิ่มขีดความสามารถให้ค้นพบวิทยาการใหม่ๆขึ้นไปเรื่อยๆเป็นวัฏจักร โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่นะมาใช้ในการศึกษาได้กลายมาเป็นองค์ประกอบ เป็นตัวเนื้อหาสาระ และเป็นเครื่องมือของการศึกษาโดยตรง ดังนั้น การที่จะศึกษาให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษา   จำเป็นจะต้องศึกษาขอบข่ายของทั้งสองเรื่องให้ชัดเจนก่อน
         เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีข่ายครอบคลุม 7 ด้านได้แก่(1) เทคโนโลยีด้านการจัดและออกแบบระบบ(2)เทคโนโลยีด้านวิธีการทางการศึกษา(3)เทคโนโลยีด้านพฤติกรรมการศึกษา(4)เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา(5)เทคโนโ,ยีด้านการจัการศึกษา(6)เทคโนโลยีด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา และ (7)เทคโนโ,ยีด้านการประเมินทางการศึกษา

1.เทคโนโลยีด้านการจัดและออกแบบระบบ 
  ขอบข่ายเทคโนโลยีด้านการจัดและออกแบบระบบเป็นขอบข่ายสำคัญระดับต้นๆ ของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เพราะในกระบวนการศึกษาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สั้นหรือยาว ง่ายรือยาก จะต้องมีการวางแผนเตรียมการดำเนินการอย่างเป็นระบบ กจิการและกจิกรรมทุกอย่างทางการศึกษา จะต้องมีการแจกแจงและวิเคราะห์ประกอบต่างๆ ให้ชัดเจนสามารถที่จะสังเคราะห์เข้ากันให้มีโครงสร้างที่เป็นองค์รวมเดียวกัน สร้างแบบจำลองให้เห็นวิถีปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ พร้อมที่จะนำไปทดสอบประสิทธิภาพและนำไปใช้จริงได้
     ในฐานะนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถในการจัดและออกแบบระบบอย่างดี โดยเฉพาะ(1)เทคโนโลยีการวิเคราะห์ระบบ(2)เทคโนโลยีการสังเคราห์ระบบ(3)เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองระบบ และ (4)เทคโนโลยีในการทดสอบและเผยแพร่ระบบ

2.เทคโนโลยีด้านวิธีการทางการศึกษา
เทคโนโลยีด้านวิธีการทางการศึกษานี้ นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จะต้องมีความรู้ความสามารถด้านหลักและทฤษฎีทางการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา และวิธีการทางการศึกษาต่างๆ แล้ว จะต้องมีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ วิศวกรรม วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ 

3.เทคโนโลยีด้านพฟฤติกรรมการศึกษา  
พฤติกรรมทางการศึกษา หมายถึง การกระทำ การแสดงออกการปฏิบัติ และการดำรงตนในกจิกรรมและภารกจิทางการศึกษาของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอบรมและการศึกษาทางไกล ในแต่ละระบบก็ประกอบด้วยพฤติกรรมด้านการบริหาร  พฤติกรรมด้านวิชาการและพึงประสงค์ต่างๆ

4.เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและสื่อการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษานี้ครอบคลุมหลัก ทฤษฎีและเนื้อหาสาระการสื่อสาร  สารสนเทศ  สื่อและช่องทางใน3 บริบท ได้แก่ สารสนเทศและสื่อสารการบริหารการศึกษา  วิชการและการบริการศึกษา เนื้อหาสาระทั้งสามบริบทนี้จะแตกต่างกันไปตามระบบการศึกษา คือ การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน  การศึกษาตามอัธยาศัย  การฝึกอบรม และการศึกษาทางไกล ถ้ากระจายขอบข่ายนี้ตารมบริบทและระบบการศึกษาให้ครอบคลุมทั้งหมดแล้ว จะเห็นได้ว่า ประกอบด้วย 15 ขอบข่าย

5.เทคโนโลยีด้านการจัดการการศึกษา 
 ขอบข่ายเทคโนโลยีด้านการการศึกษานี้ นอกจากจะ ครอบคลุมหลักการทฤษฎี กฎเกณฑ์ และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการบริหาร วิชาการ และการบริการศึกษาในระบบการศึกษาทั้ง5 ระบบหลักแล้ว ยังจะต้องครอบคลุมเทคโนโลยีด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่จะทำให้การจัดการการศึกษาทั้งมวลดำเนินไปตามหลักการนั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

6.เทคโนโลยีด้านการจักสภาพแวดล้อมทางการศึกษา 
ขอบข่ายเทคโนโลยีด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษานี้เป็นขอบข่ายที่มีความสำคัญมากต่อผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพทางการศึกษาโดยเฉพาะในยุคสังคมข่าวสาร เนื้อหาสาระของขอบข่ายครอบคลุมสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ และสภาพแวดล้อมทางสังคม ซึ่งในกระบวนการทางการศึกษาจะต้องใช้เป็นสิ่งดึงดูดความสนใจเป็นตัวกำหนดทิศทางการศึกษา เป็นเนื้อหาสาระของประสบการณ์ทางการศึกษา วิชาการ และการบริการการศึกษาในระบบการศึกษาต่างๆแล้ว ขอบข่ายนี้จะเป็นต้องนำขอบข่ายอื่นมาประสานสัมพันธ์และประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมด้วย โดยเฉพาะขอบข่ายการจัดและการจัดและการออกแบบระบบทางการศึกษาที่กล่าวมาแล้ว

7. เทคโนโลยีด้านการประเมินทางการศึกษา  
ขอบข่ายเทคโนโลยีด้านการประเมิน ครอบคลุมวัสดุอุปกรณ์และวิธีการในการประเมินทางการศึกษาครอบวงจร  ได้แก่  ทฤษฏี หลักการ  แนวคิด และเทคโนโลยี ในการประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) และข้อมูลล้ำหน้า (feed forward) ของระบบการศึกษา ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละระบบและแต่ละด้าน
โดยสรุปแล้ว ขอบข่ายของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาประกอบด้วย (1) ขอบข่ายด้านเนื้อหา7ขอบข่าย ได้แก่ เทคโนโลยีด้านวิธีการ เทคโนโลยีด้านพฤติกรรม เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา เทคโนโลยีด้านการจัดการ เทคโนโลยีด้านการจัดสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีด้านการประเมิน(2)ขอบข่ายด้านการกระบวนการ3ขอบข่าย ได้แก่ การบริหาร วิชาการและ การบริการ และ(3)ขอบข่ายด้านระบบการศึกษา5ขอบข่าย ได้แก่ การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย  การอบรม   และการศึกาทางไกล  เมื่อนำขอข่ายทั้ง 3 ด้านมาเข้าตารางสามมิติทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาแล้ว  จะเฆ็นได้ว่าประกอบด้วยขอบข่ายย่อยเท่ากับ 105ขอบข่าย (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ชัยยงค์ พรหมวงค์ หน่วยที่15การ ประมวลขอบข่ายและสถานภาพการวิจัยและทฤษฏีทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ใน ประมวลสาระชุดวิชาสัมมนาการวิจัยและทฤษฎีทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช2537)


หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 6.1.1แล้วโปรดปฏิบัติกิจกรรม6.1.1
ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 6ตอนที่ 6.1 เรื่องที่ 6.1.1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น