เรื่อง ขอบข่ายของการศึกษา
ลักษณะเด่นของสังคมมนุษย์ที่ได้กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่า
ผลของการดิ้นรนเพื่อชีวิตให้รอดทำสังคมมนุษย์สามารถสั่งสมวิทยาการต่างๆ
โดยการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นส่งผลให้มีการประยุกต์และสร้างสรรค์วิทยาการต่างๆ
ให้เป็นวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการใหม่ๆ
เป็นวงจรพัฒนาการของสังคมมนุษย์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าสัตว์อื่น
วงจรที่เป็นวัฏจักรนี้คือ การศึกษา วิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจากในตอนที่ 6.1
นี้เป็นตอนที่ศึกษาถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษา ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงขอบข่ายของการศึกษา
จึงเน้นที่ข่ายของการศึกษาในประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ในขอบข่ายของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเองก็เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้ การศึกษาเป็นกระบวนการถ่ายทอด
สร้างสรรค์และสั่งสมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของปัจเจกชนและสังคม ในยุคต้นๆ สังคมเล็ก วิทยาการก็น้อย วิถีชีวิตก็เรียบง่าย
อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ
การศึกษาจึงเป็นกระบนการถ่ายทอดประสบการณ์จากพ่อแม่สู่ลูก จากผู้ใหญ่สู่เด็ก และค่อยๆ
พฒันามาเรื่อยๆ ตามขนาดและความเจริญของสังคม
เริ่มต้นจากยุคที่มนุษย์รวมตัวกันอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ยุคที่รวมตัวกันเป็นหมู่บ้านถาวร
ยุคสังคมระบบวัด ยุคสังคมค้าขาย ยุคโรงงาน
ยุคอุตสาหกรรม จนยุคสังคมข่าวสาร
อย่างในระบบโรงเรียน
1.การศึกษาในระบบโรงเรียน
การศึกษาในระบบโรงเรียนเป็นระบบการศึกษาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ประมาณ พ.ศ. 2313
สังคมมีความจำเป็นจะต้องฝึกเยาวชนให้ทำงานประสานกับเครื่องจักรในโรงงาน
โดยทำงานเป็นส่วนๆ เป็นแผนก เป็นกลุ่มๆ จำนวนมาก
วิธีการสื่อสารและให้การศึกษาที่ใช้มาตั้งแต่ดั้งเดิมคือการศึกษาวิธีธรรมชาติและการสื่อสารรายบุคคลและกลุ่มเล็ก จึงใช้ไม่ได้กับการศึกาในระบบใหม่นี้
เพราะเป็นระบบที่นรวมเยาวชนมาไว้ในห้องสี่เหลี่ยมจำนวนมาก
มีผู้ชำนาญการหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นครูสอนและถ่ายทอดประสบการณ์แก่คนกลุ่มใหญ่นั้น
โดยมีเป้าหมายว่า ทุกคนจะต้องได้เรียนรุ้เหมือนกันและเท่าเทียมกัน
2.การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-formal Educatin)
เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่ประชากรที่อยู่นอกหรือพ้นจากระบบโรงเรียนด้วยสาเหตุต่างๆ
เช่น อายุพ้นวัยเรียน อยู่นอกเขตการศึกษา พลาดโอกาสด้วยสาเหตุต่างๆเป็นต้น
เนื้อหาสาระของการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อพัฒนาการและสันติสุขของสังคมและการดำรงชีพของบุคคล
โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาที่ไม่สามารถจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนให้ได้อย่างพอเพียงและทั่วถึง
หลายประเทศเรียกการศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นการศึกษาผู้ใหญ่
เพราะมุ่งจัดการศึกษาให้แก่ผู้ใหญ่ที่พ้นวัยเรียนจากการศึกษาในระบบโรงเรียน
ในบางประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่น
เรียกการศึกษานอกระบบโรงเรียนว่าเป็นการศึกษาของชุมชน (Shakai Kyoiku) รับผิดชอบจักการศึกษาตามความจำเป็น
ความต้องการละความเหมาะสมของสังคมของตน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ญี่ปุ่นได้รับภาพยนตร์การศึกษาไปจากสหรัฐอเมริกา
ภาพยนตร์ทุกม้วนจะถุกจองไปฉษยในศาลาการศึกษาชุมชนทั่วประเทศ
แต่ละเรื่องที่ได้ชมแล้วก็ได้อภิปรายและวิเคราะห์ร่วมกัน
ถ้าเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับทรัพยากรของท้องถิ่น
จะเห็นได้ว่า
การศึกษานอกระบบโรงเรียนรับผิดชอบประชากรจำนวนมากกว่าประชากรในระบบโรงเรียน
มีความหลายในระบบบริหารจักการ
ระบบวิชาการและหลักสูตร และระบบการให้บริการการศึกษา
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและสื่อการศึกษาทุกขอบข่ายในลักษณะที่แตกต่างและหลากหลายตามไปด้วย
โดยเฉพาะขอบข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา
3.การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาตามอัธยาศัย
(Informal Education) เป็นการศึกษาที่บุคคลได้รับข่าวสาร
ความรู้ความคิดและประสบการณ์ต่างๆ
จากสภาพแวดล้อม
สังคมและกจิกรรมในการดำรงชีวิตของตนเองโดยบุคคลอาจดีรับความรู้ ความสามารถและความคิดเห็นจากกิจกรรมการดำรงชีวิตโดยไม่ได้ตั้งใจ จากกิจกรรมต่างๆ หรือจากการแสวงหาเพื่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจประมวลและแบ่งเป็นประเภทได้ 3 ประเภท ได้แก่(1)การศึกษาโดยบังเอิญ (2)การศึกษาบันเทิง และ (3)
สิกชีวีการศึกษาอัธยาศัยทั้ง 3 ประเภทนี้
มีความเกี่ยวเนื่องและแปรผันไปตาเทคโนโลยีและสื่อสารในแต่ละยุคละสมัย
3.1 การศึกษาโดยบังเอิญ (Incidental
Education) เป็นการศึกษาที่บุคคลได้รับความรู้
ความสามารถแความคิจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อมทางสังคม โดยไม่ได้มีเจตนา หรือไม่ได้ตั้งใจที่จะแสวงหาโดยตรง เช่น การพูดคุย การสนทนากับเพื่อนบ้านตามปกติ การรับฟังข่าวสารประจำวันทางวิทยุหรือโทรทัศน์ หรือการอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์รายวัน
3.2การศึกษาบันเทิง (Edutainment) เป็นการศึกษาที่บุคคลได้รับความรู้ความสามารถและความคิดจากกิจกรรมนันทนาการ งานรื่นเริง งานเทศกาลทางศาสนาจารีประเพณี งานอริเรก
ท่องเที่ยว และทัศนาจร ภาพยนตร์
โขน หนัง ละคร และสื่อการศึกษาบันเทงโดยตรง เช่นวีดิโอเกมที่เป็นเกมในการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์
แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
เรียกว่าเป็นการศึกษาที่สนุกเพลิดเพลิน
หัวเราะไปพลางและได้ความรู้ความสามารถและความคิดใหม่ๆ
3.3 สิกขชีวี (Life Along Education หรือ Just-in-time
Education)
เป็นการศึกษาที่บุคคลได้รับความรู้ ความสามารถ
และความคิดจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของตน สิกขชีวีพัฒนามาจากองค์ประกอบของสังคมการเรียนรู้ที่คน
ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรและทุกสถาบันในสังคมทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต
ผู้บริโภคและผู้ให้บริการการศึกษาไปในตัว
ทุกหน่วยในสังคมทำทำหน้าที่ทางการศึกษาควบคู่กับหน้าที่รับผิดชอบอื่ในสังคม
4.การฝึกอบรม
การฝึกอบรมที่เป็นขอบข่ายทางการศึกษาอีกขอบข่ายหนึ่ง ได้แก่
การฝึกอบรมที่เกิดขึ้นในยุคสังคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และในยุคสังคมข่าวสาร เนื่องมาจากการรวมกลุ่มเป็นชุมชขนาดใหญ่ ตลอดทั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว
ทำให้องค์ต่างๆ
4.1 การฝึกอบรมก่อนทำงาน หน่วยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมขององค์กรขนาดใหญ่นิยมใช้วิธี(1)การศึกษาร่วมมือ
(2)การฝึกอบรมร่วมมือ (3)การฝึกอบรมทดลองงาน
4.2 การฝึกอบรมขณะทำงาน
การฝึกอบรมขณะทำงานมีความจำเป็นจะต้องดำเนินการโดยไม่แยกการฝึกอบรมออกจากการทำงานตามปกติ
ซึ่งสามารถทำได้โดยอาศัยความหลากหลายและความคล่องตัวของระบบสารสนเทศ ระบบสื่อสารการฝึกอบรม
ระบบสื่อสารและโทรคมนาคมที่มีในสังคมโกลปัจจุบัน การฝึกอบรมขระทำงานโดยไม่แยกการฝึกอบรมออกจากการทำงาน
4.3 การฝึกอบรมเพื่อเปลี่ยนหน้าที่
หมายถึง
การฝึกอบรมเพื่อเลื่อนตำแหน่งงานรับผิดชอบสูงขึ้นเปลี่ยนหน้าที่ในสายวิชาชีพเดียวกัน
เตรียมบุคลากรเพื่อรองรับระบบการทำงานใหม่หรือเทคโนโลยีใหม่ที่ห้เหมือนกับการฝึกอบรมก่อนน่วยงานนำเข้ามาใช้ วิธีการฝึกอบรมอาจเลือกดำเนิการได้เหมือนกับฝึกอบรมก่อนทำงานอบรมขณะทำงานที่ได้กล่าวมา
5.การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกล(Distanca Education)เป็นระบบการศึกษาที่ผู้เรียนผู้สอนไม่ได้เผชิญหน้ากันโดยตรง
แต่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์ต่างๆ
ทางสื่อการศึกษาทุกรูปแบบที่สามารถตอบสนองต่อสภาพแตกต่างระหว่างบุคคลและสามารถเรียนได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
การศึกษาทางไกลยึดปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อเปิดโอกาสและขยายโอกาสทางการศึกษา การศึกษาทางไกลสามารถจัดรูปแบบออกได้เป็น 3ลักษณะ ได้แก่
จัดรูปแบบโดยยึดผู้เรียน
จัดรูปแบบโดยยึดระบบการถ่ายทอดและจัดรูปแบบโดยยึดโครงสร้างของสื่อการศึกษา
5.1 การจัดรูปแบบการศึกษาทางไกลโดยยึดผู้เรียน มี 3 รูปแบบได้แก่
(1) แบบผู้เรียนกลุ่มเดียว(single mode) เป็นการศึกษาทางไกลที่เปิดให้กลุ่มผู้เรียนอยู่ที่บ้านศึกษาด้วยตนเองโดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียน(2) แบบผู้เรียนสองกลุ่ม (dual
mode) เป็นการศึกษาทางไกลที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนเองที่บ้านหรือมาเข้าชั้นเรียนประจำก็ได้และ(3)แบบผู้เรียนสามกลุ่ม (triple mode) ได้แก่
กลุ่มที่เรียนที่บ้านกลุ่มที่เรียนในชั้นเรียน
และกลุ่มที่เรียนที่บ้านแต่มาเข้าชั้นรียนบางโอกาส
5.2 การจัดรูปแบบการศึกษาทางไกลโดยยึดระบบการถ่ายทอด มี 7 รูปแบบ ได้แก่
(1)การศึกษาภายนอก(External studies)(2)การศึกษาแบบขยายสาขา(Extension Studies)(3)การศึกษาในและนอกวิทยาเขต(Extra-Mural Studies
หรือ On-Off Campus)(4)การศึกษาทางไปรษณีย์
(Correspon-dence Studies)(5)การศึกษาแบบตลาดวิชา(Open Admission
Program)(6)การศึกษาแบบมหาวิทยาลัยเปิด(Open
University System)และ(7)การเรียนระบบเปิด
(Open Learning System)
5.3
การจัดรูปแบบการศึกษาทางไกลโดยยึดโครงสร้างของสื่อ มีสองกลุ่มสื่อหลักสื่อเสริมและกลุ่มโครงสร้างเครือข่ายสื่อสาร (ศึกษารายละเอียดจาก ชัยยงค์
พรหมวงค์ หน่วยที่
12
การศึกษาทางไกลกับการพัฒนาทรัพยากรมมนุย์
ในชุดวิชาโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนากรมนุษย์ บัณฑิตศึกษา
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2536)
โดยสรุปแล้ว การศึกษาเป็นกระบวนการถ่ายทอด สร้างสรรค์และสั่งสมวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของปัจเจกชนและสังคม มีขอบข่ายประกอบด้วย (1)การศึกษาในระบบโรงเรียน(2)การศึกษานอกระบบโรงเรียน(3)การศึกษาตามอัธยาศัย(4)การฝึกอบรม และ(5)การศึกษาทางงไกล
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่
6.1.2 แล้ว
โปรดปฏิบัติกิกรรม 6.1.2
ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 6ตอนที่ 6.1 เรื่องที่ 6.1.2
อ้างอิงจาก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
สงวนลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
จัดพิมพ์โดย
สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2545
พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ . 2548 จำนวน 200 เล่ม
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น